Ultima Life

Ultima Life
2 ตัวจ่ายบาทละ 92 เต็งจ่ายบาทละ 800 แทงง่าย จ่ายไว เล่นได้ทุกวัน ดีจริง ๆ เลย มีทั้งหวยรัฐบาล หวยหุ้น หวยต่างประเทศ จับยี่กี ฯลฯ

กระบวนการในการนำเข้าแรงงานจากประเทศพม่า

กระบวนการในการนำเข้าแรงงานจากประเทศพม่า

กระบวนการในการนำเข้าแรงงานจากประเทศพม่าตามบันทึกความเข้าใจนั้นเป็นกระบวนการที่ค่อนข้างซับซ้อน
โดยข้อมูลด้านล่างนี้จะเป็นการสรุปขั้นตอนในการนำเข้าแรงงาน


     ขั้นตอนที่ 1 : นายจ้างในประเทศไทยยื่นขอโควตาเพื่อจ้างแรงงานต่างด้าว ณ สำนักงานจัดหางานจังหวัด หรือ สำนักงานจัดหางานกรุงเทพฯ เขตพื้นที่

     ขั้นตอนที่ 2
: สำนักงานจัดหางานจังหวัด หรือ สำนักงานจัดหางานกรุงเทพฯ เขตพื้นที่
ของกระทรวงแรงงานไทย ออกโควตาในการจ้างงาน (quota) ให้กับนายจ้าง

     ขั้นตอนที่ 3
: นายจ้างยื่นคำร้องขอนำแรงงานพม่าเข้ามาทำงานในประเทศไทย ณ
สำนักงานจัดหางานจังหวัด หรือสำนักงานจัดหางานกรุงเทพฯเขตพื้นที่
โดยการยื่นหนังสือแสดงความต้องการแรงงาน (demand
letter) พร้อมกับหนังสือสัญญาจ้าง
โดยกระทรวงแรงงานของประเทศไทยจะเป็นผู้รวบรวมเอกสารและจัดส่งเอกสารไปให้กับกระทรวงแรงงานพม่าผ่านทางสถานทูตพม่า
หลังจากนั้นเอกสารจะถูกส่งให้กับคณะรัฐมนตรีพม่าเพื่อพิจารณา

     ขั้นตอนที่ 4
: เมื่อได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีแล้ว
กรมแรงงานของกระทรวงแรงงานพม่าจะประกาศรับสมัครแรงงาน ณ
สำนักงานท้องถิ่นของกรมแรงงงานพม่า ณ เมืองเมียวดี ท่าขี้เหล็ก และ เกาะสอง

     ขั้นตอนที่ 5
: สำนักงานท้องถิ่นของกรมแรงงานพม่าจะทำการพิจารณาใบสมัครงาน
จัดการให้ผู้สมัครได้รับการตรวจสุขภาพเบื้องต้น
แล้วจึงส่งรายชื่อผู้สมัครที่ได้รับการอนุมัติให้กับ
กรมการจัดหางานของกระทรวงแรงงานไทย ผ่านทางสถานทูตพม่า

     ขั้นตอนที่ 6

: หลังจากที่นายจ้างได้รับการแจ้งจากกรมการจัดหางานเกี่ยวกับการอนุมัติคำร้องในการนำเข้าแรงงานแล้วนั้น4นายจ้างจะต้องเดินทางไปยังศูนย์ประสานการพิสูจน์สัญชาติที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย(แม่สาย, แม่สอด ,ระนอง) เพื่อไปสัมภาษณ์ผู้สมัครงาน
โดยแรงงานจะเดินทางเข้ามาสัมภาษณ์ในประเทศไทยโดยใช้บัตรผ่านแดน
และจะต้องไปตรวจสุขภาพ
โดยทั้งแรงงานและนายจ้างจะต้องรายงานตัวกับเจ้าหน้าที่ของกรมการจัดหางานใน
แม่สาย แม่สอดหรือ ระนอง ให้ทราบก่อนและหลังการตรวจสุขภาพ
จากนั้นศูนย์ประสานการพิสูจน์สัญชาติจะแจ้งไปยังสำนักงานท้องถิ่นของกระทรวงแรงงานพม่า
เกี่ยวกับผู้สมัครที่ผ่านการคัดเลือก
โดยสำนักงานแรงงานของพม่าในท้องถิ่นก็จะเป็นผู้แจ้งให้แรงงานทราบว่าพวกเขาได้รับคัดเลือกให้เข้าไปทำงานในประเทศไทยได้

      ขั้นตอนที่ 7
: กระทรวงแรงงานไทยแจ้งรายชื่อของนายจ้างที่จะเดินทางไปรับแรงงาน ณ
สำนักงานออกหนังสือเดินทางชั่วคราวของพม่าในเมียวดี, ท่าขี้เหล็ก, เกาะสอง
ให้กระทรวงแรงงานพม่าทราบผ่านทางสถานทูตพม่า
โดยกรมการจัดหางานของประเทศไทยจะจัดทำรายชื่อแรงงานที่ได้รับการอนุมัติเป็นภาษาอังกฤษให้แก่นายจ้าง

เพื่อให้นายจ้างสามารถนำไปแสดงกับเจ้าหน้าที่พม่าว่าพวกเขาพวกได้รับอนุญาตให้มารับแรงงาน

      ขั้นตอนที่ 8

: แรงงานที่ได้รับการอนุมัติให้เข้าทำงานในประเทศไทยจะต้องยื่นขอทำหนังสือเดินทางชั่วคราว

ที่หนึ่งในสามสาขาของสำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราวพม่า (ค่าธรรมเนียมหนังสือเดินทางชั่วคราว 3,000 จ๊าด)

     ขั้นตอนที่ 9

: ในขณะเดียวกันนายจ้างก็จะต้องเดินทางมายังสำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราวของพม่าเพื่อที่จะช่วยเหลือแรงงานในกระบวนการตรวจคนเข้าเมือง

โดยในการเดินทางเข้ามายังประเทศไทยแรงงานจะต้องยื่นขอวีซ่าและขออยู่อาศัยในราชอาณาจักรจากสำนักงานด่านตรวจคนเข้าเมือง
โดยแรงงานที่นำเข้า 10,000 คนแรก จะต้องชำระค่าวีซา 500 บาท ต่อคน
จากอัตราปกติอยู่ที่ 2,000 บาท ต่อคน โดยวีซ่าจะมีอายุสองปี
และสามารถต่ออายุได้อีกสองปี
ในกรณีที่แรงงานต้องการเดินทางกลับไปพม่าหลังจากที่ได้เข้ามาทำงานในประเทศไทยแล้ว
แรงงานจะต้องขออนุญาตกลับเข้ามาใหม่ในราชอาณาจักร
หรือขอวีซ่าสำหรับการเดินทางเข้าราชอาณาจักรได้หลายครั้ง (multiple
entry) ก่อนที่จะเดินทางกลับไปยังพม่า และเดินทางกลับมาที่ประเทศไทย

     ขั้นตอนที่10

: สำหรับแรงงานที่ใบรับรองแพทย์หมดอายุ (ใบรับรองแพทย์เกินหกสิบวันหลังจากที่ได้ตรวจสุขภาพแล้ว

ตามขั้นตอนที่ 6) เมื่อเดินทางเข้ามาทำงานยังประเทศไทยจะต้องไปตรวจสุขภาพซ้ำอีกครั้ง
ซึ่งจะทำการตรวจสุขภาพที่สถานพยาบาลบริเวณชายแดนไทยที่ตนไปพิสูจน์สัญชาติ
หรือที่จังหวัดในประเทศไทยที่แรงงานทำงานก็ได้

     ขั้นตอนที่ 11 : แรงงานจะต้องยื่นขอรับใบอนุญาตทำงาน ณ สำนักงานจัดหางานจังหวัด
หรือสำนักงานจัดหางานกรุงเทพฯเขตพื้นที่ ภายในสามสิบวันหลังจากได้รับวีซ่า
ทั้งนี้อัตราค่าธรรมเนียมใบอนุญาตทำงานจะแตกต่างกัน
ตามกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมการทำงาน และการจ้างคนต่างด้าว พ.ศ. 2552

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น